ค้นหา
baan rai i arun - Ranong - Phuket

บ้านไร่ไออรุณ กะเปอร์ ระนอง  24-25 เมษายน 2558

ครั้งแรกที่ได้เห็นบ้านไร่ฯ คือมีคนไป Like page ของบ้านไร่ไออรุณ

แล้วเผอิ๊ญ ไปสะดุดตา cover รูปสวยมาก เป็นรูปกระท่อมหลังหนึ่งอยู่กลางขุนเขา แวดล้อมไปด้วยผักเขียวขจี

มี 2 ตายายนั่งปลูกผักยิ้มอย่างสบายใจ เฮ้ยยยยย “นี่มันความฝันเราเลย อยากอยู่แบบนี้

พอดีช่วงนั้นแม่จิ๊บต้องทำโครงการสร้างแรงบันดาลใจให้คนรุ่นใหม่กลับไปรักบ้านเกิดพอดี

จึงหาข้อมูลและได้รู้ว่า คุณเบส เป็นเจ้าของบ้านไร่ไออรุณ เป็นสถาปนิกที่ลาออกจากงานมาสร้างฝันของตัวเอง

โหยยย ตกหลุมรักเลย รออะไร ติดต่อมาเป็นวิทยากรทันที……

 

สถาปนิกหนุ่ม ที่ร่างบ้านในฝัน ฟาร์มสเตย์ในฝันออกมาเป็นภาพ แค่ภาพร่างก็น่าสนใจแล้วค่ะ…

 

นั่นคือที่มาของการรู้จักกับ “บ้านไร่ไออรุณ” รู้จักกับเบส” รู้จักกับ พ่อ”

และแน่นอน ได้รู้จักกับมุมมอง วิธีคิด เป้าหมายที่ไม่ธรรมดาของ หนุ่มเบส” คนนี้

 

เบสก็เหมือนกับคนวัยจบใหม่และเริ่มทำงานเหมือนหลายๆคน แต่ความต่างคือเบสมีฝันที่ชัดเจนและ “กล้า” ที่จะเดินออกมาทำความฝันอย่างมุ่งมั่น โดยไม่สนใจเสียงรอบข้าง แต่กระนั้น…เบสก็ยื่นใบลาออกจากงานถึง 3 ครั้ง ส่วนที่บ้าน แม่อยากให้ลูกกลับไปเป็นสถาปนิกเหมือนเดิม แต่พ่อก็ค่อนข้างสนับสนุน ช่วยทำตั้งแต่ตัดต้นไผ่ สร้างบ้านไร่จากศูนย์ไปด้วยกัน ความฝันแรกของเบสคือ “สร้างบ้านของตัวเองที่เคยเห็นตั้งแต่เด็ก ที่มันไม่เสร็จสักที ให้น่าอยู่ตามความฝันตัวเองให้ได้”

 

 

คนรอบๆบ้านยังไม่เชื่อว่าเบสลาออกมาทำอะไรที่บ้าน ขนาดมีคนเชิญไปบรรยาย คนแถวนั้นก็ยังมองภาพไม่ออก “ผมขอป้ายกลับไปบ้านด้วยนะพี่ จะได้รู้ว่าผมมาจริงๆ” เบสบอก ค่อยๆสานฝันไป อยากอยู่กับพ่อกับแม่ ทำพื้นที่บ้านให้มีความสุข มีรอยยิ้ม มีความรัก ถามว่าจะพัฒนาต่อไปยังไง เบสตอบสั้นๆ “พัฒนาโดยยึดความสุขของครอบครัวเป็นที่ตั้ง ค่อยๆทำอย่างมีความสุข”
เรากำลังถ่ายรูปคู่กับเด็กหนุ่มวัยเริ่มต้นทำงาน ที่ไม่ปล่อยให้ความฝันเป็นเพียงแค่ความฝัน แต่เขาเริ่มทำมัน จากสิ่งเล็กๆน้อยๆ ด้วยหัวใจที่ยิ่งใหญ่ ทำให้ต้องย้อนกลับมาคิดถึงตัวเองบ้าง แล้วความฝันเราล่ะ คืออะไร วันนี้เราเริ่มทำมันแล้วหรือยัง?”

เดินทางไปบ้านไร่ไออรุณกัน……ไปดูความฝันของเบส

4 ชีวิตชาวเชียงใหม่ บินตรงจากเชียงใหม่ลงภูเก็ต

ดื่มด่ำความสุขของทะเล ที่นานๆจะได้มาสัมผัสกลิ่นอายทรายละเอียด น้ำทะเลใสแจ๋ว

จากนั้นไม่รอช้า เช่ารถมาขับไประนองโดยพลัน

 

ราเดินทางจากเชียงใหม่ เช่ารถจากภูเก็ต ขับผ่านพังงา เข้าเขาสกและเข้าเขตจังหวัดระนอง สองข้างทางเต็มไปด้วยความเขียวขจี ตื่นเต้นมากค่ะที่เห็นวิถีชีวิตคนใต้ มันต่างกับที่เชียงใหม่มากคือ ต้นไม้เยอะมากกกกก ร่มรื่นสุดๆ บางครั้งขับผ่านสถนนมีดอกไม้กำลังสวยเลยค่ะ
ถึงบ้านไร่ปุ๊บ ได้อัญชัญมะนาว ไฮไลท์บ้านไร่ อร่อยชื่นใจจริง ย่าหลานเบิกบานกันไป
ถึงบ้านไร่ปุ๊บ สาวน้อยอยู่นิ่งได้ไม่นาน วิ่งสำรวจผักหญ้าเลยทีเดียว

 

ชอบมุมนี้มากมายค่ะ สดชื่น สบายใจ อบอุ่น เวียงพิงค์ลูกรัก ช่างจ้อช่างคุย แม่รักหนูจังลูก ถ้าหนุโตขึ้น แม่อาจแก่จนพาหนูเที่ยวไม่ไหว แต่ความสุขใจจะอยู่ในความทรงจำเสมอ…..
พี่เบสบอกว่า กว่าจะสร้างบ้านไร่ กว่าจะมีบ้านไร่ มีอะไรมากมายที่ต้องต่อสู้ หนึ่งในนั้น คือ “ความเข้มแข็งของกำลังใจที่จะทำฝันให้มั่นคง ไม่เสียกำลังใจไปกับคำคนที่มากระทบหูทุกวัน”

 

 

ถ้าเหนื่อยนัก นั่งพักตรงนี้ก่อนนะคะ อาหารทะเลรอเราทุกคนอยู่

 

ค่ำนี้ ชาวเชียงใหม่ทั้ง 4 ชีวิตถูกต้อนรับด้วยอาหารทะเลสดๆ กินไปน้ำตาจะไหล…..มันสดมากกกกก โดนใจแม่จิ๊บจริงๆ     คุณพ่อคุณแม่และคุณเบสมานั่งล้อมวงกินค่ะด้วยกัน มันเหมือนมาเยี่ยมญาติ มาเที่ยวบ้านญาติ บรรยากาศแบบนั้นเลยค่ะ
คุณพ่อกับคุณแม่น่ารักมากค่ะ
ก่อนมื้อค่ำ เราเอาข้าวของไปเก็บไว้ที่บ้านพักเรียบร้อยแล้วนะคะ ทางเดินไม้ไผ่ ธรรมชาติสุดๆ
“ละอองดาว” จ๋าาาาา พี่มาล้าววววว!!! บ้านพักชื่อน่ารักจริง
ชอบต้นหมาก ชอบดอกเหลืองๆของต้นถั่วจัง
เปิดประตูปุ๊บ เจอชิงช้าเล็กๆอยู่ในห้องด้วยค่ะ น่ารักจัง
โทนตกแต่งห้องพัก ให้อารมณ์พักผ่อน สบายๆ สไตล์ชิคมาก คุณเบสเป็นสถาปนิกที่ออกแบบบ้านพักตามความฝันของตัวเอง
มีดาดฟ้าเล็กๆด้วยนะคะ แต่แม่จิ๊บกำลังมีน้องภูในพุง 3 เดือนแล้ว ขอชมวิวจากมุมนี้ละกัน
แอบมองย่าหลานหยอกเย้ากัน นานๆย่าได้มาเที่ยว ย่าเป็นหญิงแกร่งเลี้ยงพิงค์แต่เด็ก เค้าสนิทกันมากสองคนนี้
บ้านเล็กๆที่ประดับบนหัวเตียง หลายชิ้นเดินทางมาจากหลายที่หลายทาง บางชิ้น เดินทางไกลจากเชียงใหม่เลยทีเดียว
โคมไฟสาน เก๋อะไรเบอร์นั้น
มันดูกระจุ๋มกระจิ๋มน่ารัก ตะมุตะมิเสียจริง
มียากันยุงให้นะคะ นอกบ้านมียุงประปราย ในบ้านอาจมีเล็ดลอดเข้ามา ทายากันยุงไว้นิดนึงเนอะ
ใบเตยหั่นหอมๆ

 

แอบดุห้องน้ำมั่งดีกว่า เปิดเข้าไปปุ๊บ เจอโคมไฟกิ่งไม้นกกระดาษ พอเจอแสงสีส้มเข้าไป มันฟุ้งๆเหมือนอยู่ในความฝัน

ชมห้องพักเล็กๆแต่เต็มไปด้วยรายละเอียด แสดงให้เห็นความใส่ใจของคุณเบส
ที่เลือกและคัดสรรหลายสิ่งหลายอย่างมารวมกันเป็นบ้านพักไม่กี่หลัง
แต่มีพลังความอบอุ่น ความรัก ความฝัน
สัมผัสได้แม้เพียงการมาเยือนครั้งแรก

เปิดประตูไปอาบน้ำตรงนู๊นนน นะทุกคน
ก่อนจะอาบน้ำ มองขึ้นไป เห็นโคมไฟเก๋ๆ ชีวิตดี๊ดี…แฮปปี้จัง
555 ฝักบัวอาบน้ำสะใจมากค่ะ ไม่มีน้ำอุ่นนะทุกคน เย็นสะใจมาก ลูกสาวไม่ยอมอาบตรงนี้ อุ้มกันไปอาบบนอ่างล้างมือ
มีความเป็นไม้ไผ่
ถ้าแอบเปิดประตูหลังห้องน้ำออกไปจะเจอวิวแบบนี้
ดอกไม้จิ๋วจากลูกสาว การเเที่ยวกับลูก ความสุขมันคูณร้อย เสียงหัวเราะของลูก ความไร้เดียงสาของลูก สร้างสีสันให้ทริปมีความอบอุ่น สนุกสนาน ตลกเฮฮา สำหรับคืนนี้ GN!! นะคะทุกคน
เช้าแล้ววววววววววววววววว แอบดูม่านหมอกต้นหมาก ที่มีฉากหลังเป็นบ้านพักหลังนู๊นนนน
ท้องมันก็ร้องจ๊อกๆแล้วสิ

 

ที่พึ่งของเรา ห้องครัวนี่เอง
พี่สาวคนสวยเปิดครัวแล้วค่ะ
อุดหนุนมะม่วงหนูหน่อยค่า มะม่วงเบา แฮ่ น้ำลายไหลใช่ไหมล่ะ
มีขนมจีน ที่มีผักเคียงอลังการมากค่ะ นั่นมีมะม่วงเบาด้วย
กินรองท้องกันก่อนนะคะ
อยากพาย่ามาเที่ยวบ่อยๆ ครั้งหน้ามาปู่มาด้วยเนอะ
หูยยยยย ข้ามต้มมัดอะไรใส่ขนุนด้วย อร่อยมากค่ะ ติดใจมากกกกกกกกกก
“คุณหนูตุ่น” กะ “คุณหนูเวียงพิงค์” เค้าคุยอะไรกันน๊า

 

 

 

 

ได้เวลาแจกจุ๊บแล้วค่ะทุกคน

เด็กน้อยคนนี้ก็แฮปปี้สุดจะบรรยาย การได้ออกมาท่อองเที่ยว ทำให้พ่อแม่หายเหนื่อย ความสุขที่ได้มันไม่อาจตีเป็นราคาได้จริงๆ

 

จบทริปแบบแฮปปี้ มันไม่ใช่แค่การมาเที่ยวเลยจริงๆ

แต่มันคือการมา “ชมความฝันของเบส แล้วแบกความฝันเรากลับไปสร้างแรงบันดาลใจให้ตัวเอง”

กลับไปทำบ้านเราให้น่าอยู่ 

แล้วเราจะมาอีกน๊า “บ้านไร่ไออรุณ”

ไม่พลาดทุกเรื่องกินเที่ยว เลี้ยงลูกปลูกผักรักหนังสือ

กดติดตามเลยจ้า คลิก >https://www.facebook.com/yimwhanfamily2016/

 

**follow us**

เพจ : เลี้ยงลูกให้โตไปกับหนังสือ
Instragram : yimwhanfamily
เว็บไซต์ : www.yimwhanfamily.com
Youtube : Yimwhan Family
อีเมลล์ : [email protected]
Line Id : @yimwhanfamily

 

 

Author: Yimwhanfamily

Yimwhan Family แบ่งปันเรื่องราวแม่มือใหม่เลี้ยงลูกเชิงบวก ที่จัดการศึกษาทางเลือกในแบบ Life Long Learning สร้างเด็กรักการอ่าน (Read to Grow) และท่องเที่ยวสไตล์เด็กและครอบครัว โดย Real Mom "แม่จิ๊บ" Working Mom ที่มีความฝัน และ Passion คือ "เลี้ยงลูกให้โตไปกับหนังสือ"  

Leave a Reply

Your email address will not be published.

You may use these <abbr title="HyperText Markup Language">html</abbr> tags and attributes: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <s> <strike> <strong>

*