ค้นหา

READ TO GROW

คุณพ่อ คุณแม่เคยสงสัยมั้ยคะ ว่าทำไมแต่ละวัย พฤติกรรมการอ่านของเด็กถึงต่างกัน วันนี้แม่จิ๊บสรุปการอ่านเกี่ยวกับเด็กๆ มาให้ค่ะ ตอนแม่จิ๊บอ่านกะลูกใหม่ๆ ยังไม่ทราบเรื่องนี้ค่ะ ได้แต่ลองสังเกตุเค้าดู อ่านช่วงเบบี๋ ช่วงเด็ก ทารกหรือ เด็กวัยหัดเดิน ในระหว่างฟังพ่อแม่อ่านออกเสียง มีพฤติกรรมยังไงบ้างนะ ? ??

 

? ความสนใจต่อหนังสือของลูกล้วนแตกต่างกันมาก ระหว่างเด็กแต่ละคนหรือแต่ละวัย

? การอ่านออกเสียงกับเด็กเล็กไม่ควรเป็นประสบการณ์ที่นิ่งเฉยและเงียบสงัด ลูกควรได้โต้ตอบกับเราและหนังสือให้ได้มากที่สุด ?

 

? “เหมือนเล่นปิงปอง ไม่ใช่ปาลูกดอก”
เวลาที่เราเอาแต่พูดหรือออกคำสั่งกับลูก เรากำลังปาลูกดอกคำพูดใส่พวกเขาอยู่ ?

เคล็ดลับดีๆใต้แต่ละรูปเลยค่ะ หวังว่าคุณพ่อคุณแม่จะเอาไปใช้ได้ อ่านกับเด็กๆให้สนุกนะคะ

 

ในวัยสี่เดือน

ลูกยังมีความสามารถในการเคลื่อนไหวจำกัด จึงแทบไม่มีทางเลือกนอกจากต้องฟังและมอง ขณะอ่านหนังสือให้ลูกฟัง ควรโอบกอดลูกไว้ในลักษณะที่ทำให้รู้สึกถึงการโอบอุ้มและสายพันธ์ พร้อมกับให้ลูกได้ดูหน้าหนังสือที่อยู่ เลือกหนังสือที่มีข้อความจำกัดและภาพประกอบขนาดใหญ่ สีสันสดใส

 

ในวัยหกเดือน

ลูกจะสนใจการสัมผัสและคว้าหนังสือมาอมหรือเคี้ยวไปด้วยขณะที่ฟัง หนังสือที่เหมาะมากๆกับเด็กวัยนี้คือบอร์ดบุ๊ก เพราะมีขนาดเล็กพอดีกับมือเล็กๆของลูก ทนทานและทำความสะอาดง่าย แต่ถ้าไม่ได้เป็นเจ้าของหนังสือเอง อาจหาของเล่นมาให้ลูกกัดเล่นแทนระหว่างที่ฟังเรา?

 

ในวัยแปดเดือน

ลูกอาจจะชอบพลิกหน้าหนังสือมากกว่านั่งฟังนิ่งๆ ปล่อยให้เขาสำรวจให้พอ ?

 

ในวัยหนึ่งขวบ

ลูกจะมีส่วนร่วมมากขึ้นจนพลิกหน้าหนังสือให้เรา ชี้สิ่งของที่เราพูดถึงบนหน้าหนังสือ ?

 

ในวัยหนึ่งขวบสามเดือนและช่วงเริ่มหัดเดิน

ความอยู่ไม่นิ่งของลูกจะเบ่งบานเต็มที่ เราต้องเลือกช่วงเวลาอ่านหนังสือให้ลูกฟังที่จะไม่รบกวนความสนใจฉับพลันของเขา?

 

น่าเอ็นดูจริง ความสนใจมีแค่ 3 นาที
เก็บเกี่ยวช่วงเวลานี้ไว้เยอะๆนะคะ
หวังว่าจะได้ใช้ประโยชน์น๊า

 

น่าสนใจมากๆ เลยใช่มั้ยคะ สนใจคอร์สดีๆ ในการดูแลลูกๆ ให้โตไปกับหนังสือ คลิ๊กที่นี่เลยย

kid online course

 

**follow us**

เพจ : เลี้ยงลูกให้โตไปกับหนังสือ

Instagram : yimwhanfamily

เว็บไซต์ : www.yimwhanfamily.com

Youtube : Yimwhan Family

อีเมลล์ : [email protected]

Line Id : @yimwhanfamily

 

Yimwhan

ปล.เป็นประโยชน์ โปรดช่วยแชร์ด้วยน๊า
???

ที่มา : หนังสือ READ-ALOUD HANDBOOK

Leave a Reply

Your email address will not be published.

You may use these <abbr title="HyperText Markup Language">html</abbr> tags and attributes: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <s> <strike> <strong>

*