ค้นหา

“ มือเท้าปาก ” โรคระบาดในหน้าฝน ภัยใกล้ตัวเด็ก ๆ  | Yimwhan Family |

_______________________________

ในช่วงหน้าฝนที่ผ่านมา โรค “ มือเท้าปาก ” ได้แพร่ระบาดหนักมาก ในกลุ่มเด็กๆ

ซึ่ง “ ภูพิงค์ กับ เวียงพิงค์ ” ลูกแม่ก็เป็นหนึ่งในนั้นที่ได้ผลกระทบด้วย ??‍♀️ 

ดังนั้น แม่จิ๊บจะมาเล่าประสบการณ์ดูแลลูกตอนลูกป่วย “ มือเท้าปาก ” Hand Foot Mouth Disease  ที่ระบาดช่วงหน้าฝนต่อหนาวเยอะมาก (RSV ก็ระบาดช่วงนี้ค่ะ)

_____________________

ช่วงที่ผ่านมา “ มือเท้าปาก ” ระบาดหนักมากกก ส่วนมากจะเกิดกับเด็กที่มีอายุ 0 – 10 ขวบ บ้านแม่จิ๊บ ลูกชาย 6 ขวบ ส่วนลูกสาว 8 ขวบ เป็นกันทั้งสองคนเลย ลองไปถามเพื่อนดู บางคนลูกก็เพิ่งหาย บางคนลูกก็เพิ่งออกจากโรงพยาบาล โอ้ววว….??‍♀️??‍♀️

?โตแล้วยังเป็นได้ตอนที่กำลังเขียนบทความนี้อยู่บ้านนี้กำลังอยู่ช่วงเด็กๆกำลังดีขึ้นและเริ่มหาย แต่มีตุ่มคันขึ้นเยอะเลยค่ะ

ถึงเด็กๆเริ่มโตกันแล้วและมีอาการน้อย แต่อาการและความรุนแรง มักจะไม่สัมพันธ์กันเน้อ ดังนั้นเราต้องหมั่นดูลูกใกล้ชิด

………………

? โรค “ มือเท้าปาก ” คืออะไร??

“ มือเท้าปาก ” (Hand Foot and Mouth Disease)  เป็นโรคที่พบบ่อยในเด็กเล็กโดยเฉพาะช่วงหน้าฝนและสามารถพบโรคมือ เท้า ปากในผู้ใหญ่ได้เช่นกัน  แต่อาการมักจะไม่รุนแรงเท่าในเด็กเล็ก  เป็นโรคที่มีสาเหตุเกิดจากการติดเชื้อไวรัสกลุ่มเอนเทอโร ส่งผลให้มีอาการเป็นไข้ เป็นแผลในปาก มีตุ่มน้ำใสตามฝ่ามือ ฝ่าเท้า และลำตัว ถือได้ว่าเป็นโรคที่สร้างความกังวลใจให้กับคุณพ่อคุณแม่อยู่ไม่น้อย

 อาการ “ มือเท้าปาก ”

   โรคมือ เท้า ปากจะมีระยะฟักตัว  2-3 วัน  โดยอาการเริ่มต้นเด็กจะเริ่มมีไข้สูง 38-39 องศาเซลเซียสเป็นอาการนำก่อน จากนั้นจึงมีอาการอื่น ๆ ตามมาภายใน 1-2 วัน คือ เจ็บคอ ไม่อยากอาหาร อ่อนเพลีย และจะเริ่มมีตุ่ม ผื่น หรือแผลอักเสบมีหนองที่ผิวหนังบริเวณ ฝ่ามือ  ฝ่าเท้า และบริเวณปากทั้งภายนอกและภายใน โดยหากอาการดีขึ้นจะสามารถหายจากโรคนี้ไปใน 1 สัปดาห์

   อย่างไรก็ตามโรคมือ เท้า ปาก อาจมีภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง เช่น เหยื่อหุ้มสมองอักเสบ เหยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ หรืออัมพาตกล้ามเนื้ออ่อนปวกเปียก ซึ่งพ่อแม่ควรดูแลอย่างใกล้ชิด หากมีอาการเตือนของภาวะรุนแรง เช่น ซึมลง ไม่เล่น ไม่ทานอาหารหรือนม สับสน พูดเพ้อพูดจาไม่รู้เรื่อง ควรรีบนำมาพบแพทย์ทันที

 การรักษา

   การรักษาโรค จะเป็นการรักษาอาการทั่วๆ ไปตามอาการของผู้ป่วย เช่น เจ็บคอมาก รับประทานอะไรไม่ได้ แนะนำให้ทานอาหารที่เย็น เช่น น้ำแข็ง ไอศกรีม เพื่อลดอาการเจ็บแผลในปาก

ผู้ป่วยที่มีอาการไข้ให้ทานยาลดไข้แก้ปวด ในรายที่เพลียมากอาจให้นอนรักษาตัวในโรงพยาบาลและให้น้ำเกลือทางหลอดเลือด ร่วมกับให้ยาลดไข้แก้ปวด หรือหยอดยาชาในปากเพื่อลดอาการเจ็บแผลในปาก ร่วมกับการเฝ้าระวังสังเกตอาการของภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง

ขอบคุณข้อมูล จาก พญ. บุณฑริกา กาญจนบุษย์
กุมารแพทย์ โรงพยาบาลศิครินทร์ หาดใหญ่

https://www.sikarin.com/health/hand-foot-and-mouth-disease

……………………

ในช่วงแรกๆที่แม่ดูแลเด็กๆนั้น อาการของเด็กๆนั้นแตกต่างกัน ภูพิงค์มีไข้ขึ้นเป็นบางครั้ง ส่วนเวียงพิงค์ทั้งไอและอ้วก “ เป็นอย่างนี้ประมาณ 2 – 3 วัน ”  อยากจะบอกว่าแม่กับพ่อต้องสลับกันเฝ้าลูก งง กับไข้มากนะ คือเหมือนจะหายไข้ เหมือนไข้จะลด แต่สวิงมาอีก ลูกคนเล็กคือเพ้อเลย ไข้สูงมาก อันตรายมาก อย่าเผลอหลับเชียวล่ะ 

พอไข้เริ่มหายในวันถัดมา เด็กๆเริ่มมีตุ่มขึ้นตรงฝ่ามือและฝ่าเท้า  ภูพิงค์ผื่นกับตุ่มน้ำใสขึ้นเยอะมากและคันมากด้วย ส่วนเวียงพิงค์ มีแค่ตุ่มนิดหน่อยตรงมือแต่ยังมีอาการไออยู่ค่ะ

ในระหว่างที่ลูกเป็น แม่จะคอยบอกเด็กๆตลอดว่าอย่าเกาๆ เพราะถ้าเกาตุ่มน้ำใสมันจะแตก 

เห็นลูกเป็นอย่างนี้แม่อยากเป็นแทนเลยค่ะ สงสารลูกมากก ??‍♀️??‍♀️

 

……………

ตอนที่แม่ไปซื้อยา เภสัชกรเขาแนะนำตัวนี้มาค่ะ อย่าลืมซื้อยาแก้คันมาเตรียมไว้เลยนะ อาการคันมาแน่นอนน 

ระหว่างทางกลับบ้าน เด็กๆโทรมาบอกว่า “ อย่าลืมวิตซีนะ ”  จ้าา5555 อันนี้แม่ไม่ลืมแน่ๆ ของโปรดเด็กๆเลย

?โรคนี้เป็นไวรัส ที่ต้องดูแลตามอาการ ดังนั้นแม่แนะนำไปหาหมอดีที่สุด จะได้อุ่นใจ เพราะอาจมีอาการแทรกซ้อนที่น่ากลัว ก็ได้ยินกิตติศัพท์โรคนี้มานาน พอได้เจอ ได้ดูแลลูกช่วงป่วย รู้เลยค่ะว่า ขนาดเด็กๆโตแล้ว อาการยังไม่รอดเลย ยิ่งอายุน้อย ยิ่งออกตุ่มเยอะ

ปล.โรคนี้มีวัคซีนป้องกันแล้วนะแม่ๆ (มันมีสายพันธุ์ร้ายแรงนะแม่)

อย่าลืมติดตามบทความดีๆต่อไป 

ติดตามเราได้ที่ช่องทางด้านล่างนี้ค่ะ ??

……………

 

**follow us**

เพจ : เลี้ยงลูกให้โตไปกับหนังสือ

Instagram : yimwhanfamily

เว็บไซต์ : www.yimwhanfamily.com

Youtube : Yimwhan Family

อีเมลล์ : [email protected]

Line Id : @yimwhanfamily

 

Yimwhan

Leave a Reply

Your email address will not be published.

You may use these <abbr title="HyperText Markup Language">html</abbr> tags and attributes: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <s> <strike> <strong>

*